จุลินทรีย์ พด. แต่ละแบบ ใช้อย่างไร มีประโยชน์อะไรบ้าง
จุลินทรีย์ที่ผลิตโดย กรมพัฒนาที่ดิน มีหลายชนิดทั้ง พด.1 พด.2 พด.3 พด.6 พด.7 พด.9 พด.11 และ พด.12 โดยชื่อย่อ พด. นั้นก็มาจากคำว่า “พัฒนาที่ดิน” นั่นเอง ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่มีวางจำหน่าย สามารถขอรับได้ฟรีที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดในพื้นที่ของเราได้เลย
สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 (ผลิตปุ๋ยหมัก)
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเศษวัสดุทางการเกษตรต่างๆ เช่น ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว เมล็ดกาแฟ นำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็ว เป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณภูมิสูง
ส่วนประกอบของ พด.1
- กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส
- กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายไขมัน
สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 1 ซอง สามารถใช้ผลิตปุ๋ยหมักได้ถึง 1 ตัน โดยนำไปใช้ร่วมกับการหมักปุ๋ยแบบไม่กลับกอง หรือปุ๋ยหมักในวงตาข่ายได้เช่นกัน
วิธีใช้ พด.1
ผสมสารเร่งซุปเปร์ พด.1 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 20 ลิตร กวนนาน 5-10 นาที เพื่อกระตุ้นจุลินทรีย์ให้ตื่นตัวพร้อมย่อยสลายเศษพืช แล้วราดให้ทั่วกองปุ๋ยหมักในแต่ละชั้น (ภายในและภายนอกกองปุ๋ย)
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 (ผลิตน้ำหมักชีวภาพ)
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยโปรตีน ไขมัน ช่วยลดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก สามารถย่อยสลาย เศษพืชต่างๆ เปลือกไข่ ก้างปลา กระดูกสัตว์ ได้ในเวลาอันสั้น เป็นจุลินทรีย์ที่เติบโตได้แม้ในสภาพที่เป็นกรด
ส่วนประกอบของ พด.2
- ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์ : Pichia sp.
- แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก : Lactobacillus sp.
- แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน : Bacillus sp.
- แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน : Bacillus sp.
- แบคทีเรียละลายอนินทรีย์ฟอสฟอรัส : Burkholderia sp.
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง สามารถใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพได้ถึง 50 ลิตร
วิธีใช้ พด.2
ผสมสารเร่งซุปเปร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 20 ลิตร กวนนาน 5-10 นาที เพื่อกระตุ้นจุลินทรีย์ให้ตื่นตัวพร้อมย่อยสลายเศษพืช แล้วเทผสมลงในถังหมัก
จุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.9 (ละลายฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว)
เป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการละลายฟอสฟอรัส (P) ที่ถูกตรึงในดินกรด ดินเปรี้ยว ให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้
ส่วนประกอบของ พด.9
- แบคทีเรีย Burkholderia sp.
การขยายจุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.9
วัสดุขยายเชื้อ
- ปุ๋ยหมัก 300 กิโลกรัม
- รำละเอียด 3 กิโลกรัม
- น้ำ 20 ลิตร
- จุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.9 จำนวน 1 ซอง
วิธีการขยายเชื้อ
- ผสมปุ๋ยหมักกับรําละเอียดให้เข้ากัน
- ละลายจุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.9 ในน้ำ กวนกระตุ้น 5-10 นาที
- นําจุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.9 เทลงในส่วนผสมของปุ๋ยหมักและรําละเอียด
- ผสมวัสดุให้เข้ากัน รดน้ำให้ได้ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
- ตั้งกองปุ๋ยในที่ร่มเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วคลุมผ้าเพื่อรักษาความชื้น
- ในระหว่างการขยายเชื้อให้รักษาความชื้นกองให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อครบ 4 วัน จึงนําไปใช้ได้
วิธีการใช้
ใช้อัตราส่วน 100 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 3 กิโลกรัม/ต้น
จุลินทรีย์ พด.11 (ปรับปรุงดิน)
เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศให้แก่พืชบํารุงดิน โดยแบ่งออกเป็น จุลินทรีย์ พด.11 สําหรับปอเทือง และจุลินทรีย์ พด.11 สําหรับโสนอัฟริกัน ซึ่งจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสําหรับพืชบํารุงดินชนิดนั้นๆ อีกทั้งยังมีความสามารถในการละลายฟอสฟอรัสในดินให้เป็นประโยชน์แก่พืชสูงสุด
คุณสมบัติของ พด.11
- เป็นจุลินทรีย์กลุ่มไรโซเบียมที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
- เป็นแบคทีเรียที่สามารถผลิตกรดอินทรีย์ เพื่อละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟตให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น Burkholderia sp.
- เจริญที่อุณหภูมิระหว่าง 27-35 องศาเซลเซียส
- เจริญในสภาพที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง 6.5-7.5
การขยายจุลินทรีย์ พด.11
วัสดุขยายเชื้อ
- ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
- รําข้าว 1 กิโลกรัม
- น้ำ 5 ลิตร
- จุลินทรีย์พด.11 จำนวน 1 ซอง
วิธีการขยายเชื้อ
- ผสมปุ๋ยหมักกับรําข้าวให้เข้ากัน
- ละลายจุลินทรีย์ พด.11 ในน้ำ กวนกระตุ้น 5-10 นาที
- นําจุลินทรีย์ พด.11 เทลงในส่วนผสมของปุ๋ยหมักและรําข้าว
- ผสมวัสดุให้เข้ากัน รดน้ำให้ได้ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
- ตั้งกองปุ๋ยในที่ร่มเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วคลุมผ้าเพื่อรักษาความชื้น
- ในระหว่างการขยายเชื้อให้รักษาความชื้นกองให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อครบ 4 วัน จึงนําไปใช้ได้
วิธีการใช้
- หว่านปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อ พด.11 ให้ทั่วพื้นที่ปลูก หรือโรยในแถวร่องปลูก 100 กิโลกรัม/ไร่
- หว่านเมล็ดปอเทืองหรือโสนอัฟริกัน อัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 (เพิ่มสารอาหาร)
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสารอาหาร เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโต ของพืช
ส่วนประกอบของ พด.12
- แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน Azotobacter sp.
- แบคทีเรียละลายฟอสเฟต Burkholderia sp.
- แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม Bacillus sp.
- แบคทีเรียผลิตฮอร์โมนพืช Azotobacter sp.
จุดเด่นของปุ๋ยชีวภาพ พด.12
- เพิ่มไนโตรเจนเฉลี่ย 3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
- เพิ่มการละลายได้ของหินฟอสเฟต 15-45 เปอร์เซ็นต์
- เพิ่มการละลายได้ของโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ 10 เปอร์เซ็นต์
- สร้างฮอร์โมนเร่งการเติบโตของราก และต้นพืช
- เพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช
การขยายจุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
วัสดุขยายเชื้อ
- ปุ๋ยหมัก 300 กิโลกรัม
- รําข้าว 3 กิโลกรัม
- ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 จำนวน 1 ซอง
วิธีการขยายเชื้อ
- ผสมปุ๋ยหมักกับรําข้าวให้เข้ากัน
- ละลายปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ในน้ำ กวนกระตุ้น 5-10 นาที
- นําปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เทลงในส่วนผสมของปุ๋ยหมักและรําข้าว
- ผสมวัสดุให้เข้ากัน รดน้ำให้ได้ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
- ตั้งกองปุ๋ยในที่ร่มเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วคลุมผ้าเพื่อรักษาความชื้น
- ในระหว่างการขยายเชื้อให้รักษาความชื้นกองให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อครบ 4 วัน จึงนําไปใช้ได้
วิธีการใช้
- ข้าว พืชไร่ พืชผัก หญ้าอาหารสัตว์ 300 กิโลกรัม/ไร่
- ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น 3-5 กิโลกรัม/ต้น
สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 (ควบคุมโรคพืช)
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ควบคุมเชื้อโรคพืชในดิน สามารถทําลายและยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคในดินที่เป็นสาเหตุทําให้เกิดอาการรากเน่าหรือโคนเน่าได้
ส่วนประกอบของ พด.3
- ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.)
- เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus sp.)
การขยายสารเร่งซุปเปอร์ พด.3
วัสดุขยายเชื้อ
- ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
- รําข้าว 1 กิโลกรัม
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 จำนวน 1 ซอง
วิธีการขยายเชื้อ
- ผสมปุ๋ยหมักกับรําข้าวให้เข้ากัน
- ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ในน้ำ กวนกระตุ้น 5-10 นาที
- นําสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 เทลงในส่วนผสมของปุ๋ยหมักและรําข้าว
- ผสมวัสดุให้เข้ากัน รดน้ำให้ได้ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
- ตั้งกองปุ๋ยในที่ร่มเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วคลุมผ้าเพื่อรักษาความชื้น
- ในระหว่างการขยายเชื้อให้รักษาความชื้นกองให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อครบ 7 วัน จึงนําไปใช้ได้
วิธีการใช้
- พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ 100 กิโลกรัม/ไร่
- ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น 3-6 กิโลกรัม/ต้น
- แปลงเพาะกล้า 1-2 กิโลกรัม/พื้นที่ 10 ตารางเมตร
สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 (ควบคุมแมลงศัตรูพืช)
เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดสารออกฤทธิ์ โดยกระบวนการหมักพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืช
ส่วนประกอบของ พด.7
- ยีสต์ สกัดสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพร Saccharomyces sp.
- แบคทีเรียผลิตกรดอะซิติก สกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร Gluconobacter sp.
- แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก ยับยั้งการเน่าบูด Lactobacillus sp.
ตัวอย่างชนิดพืชสมุนไพร
- สมุนไพรควบคุมเพลี้ย เช่น ยาสูบ ดีปลี หางไหล กลอย และพริก
- สมุนไพรควบคุมหนอน เช่น ว่านน้ํา มันแกว สะเดา หนอนตายหยาก และขมิ้นชัน
วิธีใช้ พด.7
หมักพืชสมุนไพรสด
- พืชสมุนไพร 30 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
- รําข้าว 100 กรัม
- น้ำ 30 ลิตร (ใส่ให้ท่วมสมุนไพร)
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 จำนวน 1 ซอง
หมักพืชสมุนไพรแห้ง
- พืชสมุนไพร 10 กิโลกรัม
- กากน้ําตาล 20 กิโลกรัม
- รําข้าว 60 ลิตร (ใส่ให้ท่วมสมุนไพร)
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 จำนวน 1 ซอง
วิธีทำ
- สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก ทุบ หรือตําให้แตก
- นําพืชสมุนไพร และรําข้าว ใส่ลงในถังหมัก
- ละลายกากน้ำตาลในน้ำ แล้วใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 กวนผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
- เทใส่ลงในถังหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาถังไม่ต้องแน่น ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม และกวนผสมทุกวัน ใช้ระยะเวลาในการหมัก 21 วัน
วิธีการใช้
- ใช้ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 100
- ฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน และฉีดต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ครั้ง
สารเร่ง พด.6 (บำบัดน้ำเสีย)
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารแม้ในสภาพอากาศน้อย เพื่อใช้บําบัดน้ำเสีย ขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ทําความสะอาดคอกสัตว์ และกําจัดลูกน้ำยุงรําคาญ
ส่วนประกอบของ พด.6
- ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ : Saccharomyces sp.
- แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก : Lactobacillus sp.
- แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน : Bacillus sp.
- แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน : Bacillus sp.
- แบคทีเรียกําจัดลูกน้ํายุงรําคาญ : Bacilus sphaericus
การขยายสารเร่ง พด.6
วัสดุขยายเชื้อ
- กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม (หรือน้ำตาลทราย 2.5 กิโลกรัม)
- น้ำ 50 กิโลกรัม
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 จำนวน 1 ซอง
วิธีการขยายเชื้อ
- ผสมน้ำกับกากน้ำตาลลงในถังหมัก
- ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 ลงในถังหมัก แล้วกวนให้เข้ากัน
- ปิดฝาไม่ต้องสนิท โดยในระหว่างการหมัก ให้กวนให้เข้ากันวันละ 1 ครั้ง
- ในระหว่างการหมักจะสังเกตเห็นคราบเชื้อขึ้นที่ผิวหน้า และมีฟองก๊าซเกิดขึ้น
- หมักไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 4 วัน จะได้สารบำบัดน้ำเสีย ควรนําไปใช้ทันที ไม่ควรเก็บไว้
วิธีการใช้
- ใช้ พด.6 จํานวน 1 ลิตร ต่อน้ำเสีย 10 ลูกบาศก์เมตร โดยเทในน้ำเสียทุกๆ 3-7 วัน จนกว่าน้ำจะใส และกลิ่นลดลง ควรใช้ในสภาพน้ำนิ่ง เน่าเสีย เริ่มส่งกลิ่นเหม็น
- พื้นที่ 1 ไร่ ระดับน้ำสูง 30 เซนติเมตร ใช้สารบําบัดน้ำเสีย 50 ลิตร
- พื้นที่ 1 ไร่ ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร ใช้สารบําบัดน้ำเสีย 80 ลิตร
- หมายเหตุ : อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของน้ำ
- การใช้ทําความสะอาดพื้นและคอกปศุสัตว์
- ใช้สารบําบัดน้ําเสีย อัตราเจือจางด้วยน้ำ 1 : 10 ราดให้ทั่วพื้นที่ทุกๆ 3 วัน
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมพัฒนาที่ดิน
เรียบเรียงโดย ครูพี่นุ (ภานุพงศ์ สะและหมัด)
- สวน COCONUT Thailand และ ฟาร์ม ข.ไข่
ความเห็นล่าสุด