“ศาสตร์พระราชา” แรงบันดาลใจผลิตคลิป “วัยรุ่นพอเพียง”
“งานที่เรากำลังทำ ทำไปเถอะ คนเข้าใจยังไม่รู้หรอกว่าสิ่งนีิ้มีค่า แต่เมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงไป จนถึงวันที่เขาเห็นความจำเป็น เขาจะมาศึกษาเอง”
“นุ” ขยายความเพิ่มเติมว่า คลิปที่ทำเป็นการบอกเล่าถึงชีวิตตัวเอง เป็นความสุขจากข้างในของผมที่อยากจะถ่ายทอด ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย ตอนนี้ผมมีหน้าที่เรียนหนังสือและอีกหน้าที่คือการทำเกษตรสวนมะพร้าวที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ผมนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจผสมผสานมาปรับใช้ต่อยอดในการทำสวนมะพร้าว จากเดิมขายแค่ลูกมะพร้าว ก็เพิ่มมูลค่าเป็นขายพันธุ์มะพร้าวด้วย และยังมีการทำนา ทำเกษตรอินทรีย์ ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีเปิดขายผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งทำคลิปเผยแพร่ความรู้เกษตรพอเพียงผ่านทางYouTube เพื่อให้ความรู้กับความกับคนที่สนใจในด้านเกษตร
ตัวแทนในฐานะทีมที่คว้าแชมป์ “นุ” ยังบอกด้วยว่า “สิ่งต่างๆที่ทำผมได้น้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นแรงบันดาลใจผ่านการลงมือทำอย่างจริงจังและต่อยอดจากสิ่งที่มี สำคัญที่สุดคือต้องเอามาใช้ปฏิบัติอย่างจริงจังถึงจะเข้าใจ เป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแบบอย่างและทรงพระราชทานคำสอนที่มีคุณค่าไว้ให้กับพวกเราเสมอ แม้ช่วงแรกจะประสบอุปสรรคหรือคนไม่เชื่อแต่เมื่อเราทำไปแล้วประสบความสำเร็จคนก็จะเห็นคุณค่าและหันมาสนใจ และความพอเพียงไม่จำเป็นต้องทำเกษตรแต่หมายถึง ทำทุกสิ่งให้พอดีกับชีวิตของเรา ทำหน้าที่หลักของเราให้ดีที่สุด ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่เห็นแก่ตัว
ทั้งนี้เป้าหมายของผมคือการเป็นครู ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น อาจจะไม่ได้เป็นครูที่สอนอยู่ในสถานศึกษา แต่เป็นครูที่สอนอยู่ในพื้นที่บ้านของผมที่ทำอาชีพเกษตรครับ เป็นการถ่ายทอดจากสิ่งที่ผมรู้จากการปฏิบัติจริงให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ผมอยากสอนคือเด็ก เพราะการเรียนรู้ที่ดีควรจะเริ่มแต่วัยเด็ก และอีกส่วนหนึ่งคือผู้สูงอายุ ซึ่งบางท่านอาจจะมีความรู้ที่ดีและมากกว่าเรา จะได้เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยครับ”
ส่วนรางวัลรองแชมป์ เป็นที่มจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปี 2 คณะวิทยาการจัดการ สาขาภาพยนตร์ ที่ชิงไปทั้ง 2 รางวัล โดยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เป็นของทีม “ตาปรือ” กับผลงานคลิปเรื่อง “ลืม” ตัวแทนทีม กิตติพัฒน์ ก้อนผา“กันต์” บอกว่า
“คลิปที่ทำฉายให้เห็นภาพชีวิตของเด็กชาวสวนคนหนึ่งที่เห็นเพื่อนมีของเล่นใหม่ๆก็อยากได้ แต่พ่อได้สอนให้เห็นถึงความประหยัดที่สามารถแปรรูปจากสิ่งที่มีให้ดีขึ้นได้ อย่างเช่นตุ๊กตากระดาษที่สามารถดีไซน์เสื้อผ้าใหม่ๆด้วยตัวเองได้ ซึ่งกระทั่งเมื่อเข้าสู่วัยอุดมศึกษาที่ต้องการส่งผลงานจากการออกแบบเครื่องแต่งกายเข้าประกวด จึงนำสิ่งที่พ่อสอนมาประกอบการออกแบบด้วยการนำกระดาษเหลือใช้มาตัดเย็บทำเป็นชุดรีไซเคิล จนสามารถชนะการประกวด คลิปนี้ผมอยากจะสะท้อนให้ทุกคนที่ดูได้รู้จัก คำว่าพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ซึ่งคำว่าพอเพียงไม่จำเป็นจะต้องสื่อถึงการเก็บออมเงินเท่านั้น แต่สามารถกระทำโดยการใช้สิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่า หรือการแปรรูปสิ่งที่มีอยู่หรือของเหลือใช้ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ครับ”
ปิดท้ายกับที่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กับผลงานคลิปที่ชื่อ “ถ้าตอนนั้น” ของทีม RunTod Flim โดย ชาตรี สำรวมจิต “แมน” ตัวแทนทีมเล่าถึงแนวความคิดของคลิปที่ทำว่า “มาจากความไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ของคนจนต้องดิ้นรนเกินตัว ทำให้ตัวเองลำบากถึงขนาดทำในสิ่งที่ผิดผิด เช่น หวังรวยก็หันไปเล่นการพนัน ในที่สุดก็ส่งผลเสียในอนาคต อยากสะท้อนให้เห็นว่า คนเราทะเยอทะยานได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรที่เกินตัวหรือสิ่งที่ผิด เพราะเราไม่รู้หรอกว่าผลร้ายจะเกิดตามมาช้าหรือเร็ว แต่สุดท้ายมันจะมาถึงตัวแน่นอน อยากให้คนที่ดูคลิปได้รับรู้และครองตนอยู่ในความพอดี พอเพียง อย่างในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเน้นย้ำเสมอครับ”
ได้รับรู้ข้อมูลคร่าวคร่าวผ่านตัวอักษรถึงผลงานคลิปวีดีโอออนไลน์ “วัยรุ่นพอเพียง”ของนักศึกษาที่คว้าแต่ละรางวัล “ยายรหัส” เชื่อว่าหลายคนคงอยากชื่นชมอรรถรสเนื้อหาคลิปจริง ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ผ่าน YouTube หรือ Facebook Page มูลนิธิเยาวชนพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากการได้เห็นฝีมือสร้างสรรค์ไอเดียผ่านสื่อ ซึ่งแต่ละทีมล้วนถ่ายทอดแง่มุมที่หลากหลายอย่างน่าสนใจและน่าเรียนรู้แล้ว
สิ่งสำคัญยังได้แนวคิด “ความพอเพียง” ไปปรับใช้ในชีวิตจริงร่วมกับการ “เดินตามรอยเท้าพ่อ”
บทความจาก : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2560
โดย : ยายรหัส/รายงาน
อ่านข่าวเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่..
คม-ชัด-ลึก : เยาวชน 15 สถาบัน รวมตัวแปรอักษร”วัยรุ่นพอเพียง” ถวายพ่อหลวง
ข่าวสด : คอลัมน์ สดจากเยาวชน : วัยรุ่นพอเพียง ศาสตร์พระราชา
โพสต์ทูเดย์ : เยาวชนแปรอักษรวัยรุ่นพอเพียงประกาศเดินตามรอยพ่อ
หากคุณชอบบทความนี้ อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อนๆที่ด้านล่างนี้นะครับ
ความเห็นล่าสุด