7เทคนิค จัดการด้วงมะพร้าวให้สิ้นซาก
ด้วงแรด (ตัวกัดเจาะ) หากินกลางคืน
พื้นที่วางไข่
– กองปุ๋ยหมัก
– มูลสัตว์
– กองเศษซากพืช
ลักษณะการทำลาย
– กัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว
– กัดกินยอดอ่อน
ผลกระทบ
– ทางใบที่เกิดใหม่อาจขาดแหว่งเป็นสามเหลี่ยมหรือหักโค่นลงได้
– ในการทำลายแต่ละครั้งจะมีทางใบเสียหาย 6-8 ใบ อาจทำให้ต้นแคระแกร็นได้
– อาจทำให้ต้นมะพร้าวบิดเบี้ยว เป็นรูปร่างคล้ายพญานาค
ด้วงงวง (ตัววางไข่) หากินกลางวัน
พื้นที่วางไข่
– ในยอดมะพร้าวหรือปาล์ม
ลักษณะการทำลาย
– วางไข่ในช่องที่ด้วงแรดเจาะมะพร้าวไว้ประมาณ400ฟอง
– เกิดเป็นตัวหนอนที่กัดกินและอาศัยอยู่ในลำต้นมะพร้าว
ผลกระทบ
– ทำให้เกิดโรคยอดเน่า
– ทำให้ต้นมะพร้าวตาย
วิธีลดจำนวนด้วงมะพร้าว
- รักษาสวนให้สะอาด ไม่สะสมเศษซากพืชหรือกองปุ๋ยหมักไว้ในสวนมะพร้าว
- ใช้เชื้อราเขียวกำจัดหนอนด้วง (อ่านต่อ..)
- ใช้ถังกับดักฟีโรโมน ล่อตัวเต็มวัยให้มาติดในถัง
วิธีป้องกันกำจัดด้วงมะพร้าว
- ใช้น้ำมันเครื่องผสมน้ำมันยาง ทาบริเวณรอยกัดเจาะของด้วงแรด เพื่อป้องกันไม่ให้ด้วงงวงมาวางไข่
- ใช้ทรายหยาบหรือทรายก่อสร้าง ใส่ในกาบใบมะพร้าวเมื่อด้วงแรดเจาะเข้ามาจะทำให้ทรายเข้าในคอด้วง ขยับตัวได้ลำบากและตายในที่สุด
- ใส่ลูกเหม็นที่กาบใบมะพร้าวรอบๆยอด ประมาณ 6-8 ลูก/ต้น เป็นการใช้กลิ่นไล่ เพื่อไม่ให้ด้วงหรือแมลงอื่นๆเข้ามา (ลูกเหม็นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงไม่แนะนำให้ใช้ในบริเวณที่อยู่อาศัย )
- ใช้ตาข่ายกับดัก กั้นสูงรอบแปลงปลูกจากพื้นดินประมาณ1เมตร (ดูในวิดีโอ)
เรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
เขียนบทความโดย : นุ สะและหมัด
- เจ้าของสวน โคโคนัท ไทยแลนด์
- ผู้นำวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น
- ผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ
หากคุณชอบบทความนี้ อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อนๆที่ด้านล่างนี้นะครับ
ความเห็นล่าสุด